การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในอินเดีย
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ณ เวลานี้ ทุกๆ ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาขยะ E-waste แนวทางการจัดการเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลดปริมาณขยะ สารพิษ มลพิษ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่โตเร็วและใหญ่ที่สุด ในช่วงทศวรรษหลังนี้อุตสาหกรรมนี้ได้ถูกสมมติบทบาทของอำนาจอันมีอิทธิพลสู่สังคมเศรษฐกิจและการเติบโตทางเทคโนโลยี ลำดับของการเติบโตผู้บริโภคอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น และความรุดหน้าทางเทคโนโลยีเป็นความท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่
การจัดการขยะ ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งในประเทศอินเดีย รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะขยะคอมพิวเตอร์ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศที่พัฒนาแล้วจะสามารถเข้ามาได้ง่ายมากในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเข้ามาเป็นการค้าเสรี ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากกับการจัดการขยะ โดยบทความนี้จะเน้นไปในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันและกลยุทธ์การความเตรียมพร้อมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจัดการขยะในดินแดนภารตะ ต่อไปในอนาคต
การกำจัดสิ่งของอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุในอินเดียจะเป็นการนำของเก่าไปแลกของซื้อของใหม่ โดยธุรกิจนี้คิดเป็นร้อยละ 78 ของคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นในประเทศ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่หมดอายุหรือไม่ได้ใช้งานจากภาคธุรกิจจะถูกนำมาขายแบบประมูลเลหลัง บางครั้งสถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่สามารถนำคอมพิวเตอร์เก่ามาใช้ซ้ำก็จะนำคอมพิวเตอร์เก่าเหล่านี้มาใช้ซ้ำ ซึ่งถูกประเมินค่าได้ว่า จำนวนของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่หมดอายุแล้วมีกระจายอยู่ทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนประมาณ 1.38 ล้านเครื่อง
ขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในวงกว้างได้ ขึ้นอยู่กับการใช้วัสดุที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมในระบบกระบวนการผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ โดยวัสดุที่อันตรายจะมีส่วนประกอบของตะกั่ว สารปรอท เฮกซาวาเลนท์โครเมียม ซึ่งจะกลายเป็นขยะจากหลอดสุญญากาศที่ใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์ แผงเครื่องจักร ตัวเก็บประจุ เครื่องถ่ายทอดปรอท แบตเตอรี่ จอ LCDs ตลับหมึกจากเครื่องถ่ายเอกสาร และวัตถุเหลวที่แยกด้วยไฟฟ้า
นอกจากนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีสารปนเปื้อนพวกตะกั่วและแคดเมียมอยู่ในวงจรของการผลิต ซึ่งลีดออกไซด์และแคดเมียมจะอยู่ในจอภาพคอมพิวเตอร์ สารปรอทอยู่ในจอภาพแบบจอแบน แคดเมียมในแบตเตอรี่คอมพิวเตอร์ โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs) ในตัวเก็บประจุและหม้อแปลงที่เก่าแล้ว สารหน่วงในบอร์ดวงจรไฟฟ้าในเคสพลาสติก สายเคเบิล หรือฉนวน PVC ที่มีสารมีพิษเมื่อทำการเผาเพื่อให้ได้ทองแดงจากขดลวด เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาที่น่าจะดีที่สุด ที่ประเทศอินเดีย ดำเนินการอยู่ นั่นก็คือ แนวคิดขยะเหลือศูนย์ (zero waste management) ซึ่งจะมีหลักการสำคัญ คือ การใช้วัตถุการผลิตที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ให้มากที่สุด ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด บริโภคให้พอดีและบริโภคสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตสินค้าใหม่ที่ผสมผสานการนำวัสดุกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ รณรงค์การใช้สินค้าที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ พัฒนาการนำขยะกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ เก็บภาษีรวมในราคาสินค้าที่คิดจากต้นทุนทรัพยากรการผลิต ช่วยยกระดับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชุมชน และ สร้างงานใหม่ๆให้กับชุมชน
โดยสรุปแล้ว การที่จะใช้สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนักเลยว่า ใช้ให้คุ้มค่าและสารมารถนำกลับมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
หากต้องการอ่านสาระน่ารู้อื่นๆ สามารถคลิกดูได้ที่ https://www.facebook.com/mrtrecycle นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น