ในสถานการณ์ปัจจุบันมีการใช้แบตเตอรี่ก้อนขนาดเล็กมากกว่าก้อนใหญ่ถึง 10 เท่า บนโลกนี้จึง ประกอบไปด้วยโลหะเป็นพิษจากแบตเตอรี่ที่หมดอายุซึ่งถูกสร้างเพิ่มขึ้นและใช้กันอยู่ในแต่ละปี
ขณะที่แบตเตอรี่ที่ใช้กันในภาคอุตสาหกรรมกับแบตเตอรี่รถยนต์เท่านั้นที่ได้มีการรีไซเคิลนําเอาวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (วัสดุดังกล่าวคือโลหะตะกั่ว, นิเกิล, แคดเมียม, สังกะสี, เงิน, แมงกานีส, สารละลายอิเล็กโตรไลต์และตัวถังพลาสติก ฯลฯ)
ส่วนแบตเตอรีขนาดเล็กจะถูกทิ้งให้เป็นของเสียที่เป็นอันตรายและไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ มักจะนำไปฝังกลบ ซึ่งอาจจะใกล้แหล่งน้ำ ทำให้สารพิษ จำพวก นิเกิล แคดเมียม หรือ ปรอท ไหลออกจากแบตเตอรี ที่เกิดจากการกระแทกหรือแตกหักของตัวถัง รวมทั้งหากนำไปเผาในเตาเผาขยะตามหน่วยงานระดับเทศบาลต่างๆ ก่อให้เกิดควันและฝุ่นละอองโลหะ ฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง
ในต่างประเทศนั้นได้ มีกฎข้อบังคับในเมืองใหญ่ ว่า ห้ามนำแบตเตอรี่ใช้แล้วไปเผาเข้าเตาเผาขยะชุมชน และ ห้ามนําไปฝังกลบเหมือนขยะทั่วไป แต่จะให้มีการนํามาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเสียก่อน หรือ จะกําจัดได้โดยการฝังกลบอย่างปลอดภัยสําหรับของเสียที่มีพิษโดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศไทยนั้น การนําแบตเตอรี่ดังกล่าวมารีไซเคิลใหม่ ยังทําได้น้อย เนื่องจากแบตเตอรี่ที่นํามารีไซเคิลจะเป็นแบตเตอรี่จากรถยนต์ เป็นส่วนใหญ่
การรีไซเคิลแบตเตอรี ซึ่งส่วนมากจะเป็นแบตเตอรีรถยนต์ มักจะเป็นชนิดกรด-ตะกั่ว ซึ่งส่วนประกอบสามารถรีไซเคิลได้ถึง 97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการรีไซเคิลแบตเตอรี่เก่าเข้าสู่กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ได้เกือบทั้งหมด การรีไซเคิลแบตเตอรี่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ
1. ทําการแยกหรือทําให้แบตเตอรี่แตกเป็นชิ้น ๆ
2. ชิ้นส่วนแบตเตอรี่จากข้อ 1 ถูกนําไปแยกส่วนที่เป็นพลาสติก (โพลีโพรพีลีน) ออกจากส่วนที่เป็นสารละลายและตะกั่วและโลหะหนักอื่น ๆ แต่ละส่วนจะส่งต่อเข้ากระบวนต่อไป
3. สําหรับชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก จะนําไปล้าง ทําให้แห้ง แล้วส่งต่อไปโรงรีไซเคิลพลาสติกเพื่อหลอมเป็นพลาสติกใหม่
4. แผงตะกั่วจะนําไปหลอมเป็นตะกั่วแท่ง มีการกําจัดสิ่งเจือปนทิ้ง (dross)
5. กรดซัลฟุริก จัดการได้ 2 ลักษณะคือ
1) ทําให้เป็นกลางแล้วทิ้ง หรือ 2) ทําให็เป็นโซเดียมซัลเฟต
หากต้องการอ่านสาระน่ารู้อื่นๆ สามารถคลิกได้ที่ https://www.facebook.com/mrtrecycle
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น