ปัจจุบันขยะอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายหรือเรียกง่ายๆ ว่า “กากอุตสาหกรรม” จะนำไปฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และบางส่วนก็ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลเท่าใดนัก วันละหลายพันตัน รวมทั้งขยะอุตสาหกรรมที่ปะปนไปกับขยะชุมชนด้วย
จากข้อมูลที่มีอยู่พอสรุปได้ว่า ขยะอุตสาหกรรมดังกล่าวกว่าร้อยละ 50 สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า และบางส่วนก็สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันสังเคราะห์ เช่น ยางรถยนต์หรือพลาสติกบางประเภท
ขยะอุตสาหกรรม (ซึ่งในที่นี้ขอหมายถึงขยะไม่อันตรายเท่านั้น) จะมีค่าความร้อนระหว่าง 6,000-10,000 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (Kcal/kg) และมีค่าความชื้นค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับขยะชุมชน
ข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ ขยะอุตสาหกรรมได้รับการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง การนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF : Refuse Derived Fuel) จึงเป็นเรื่องง่าย จากการสุ่มตัวอย่างขยะอุตสาหกรรมที่แยกประเภทแล้ว 25 ตันต่อวัน จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าได้ 1 MW รายได้โดยเฉลี่ยรวมค่า Adder แล้วอยู่ที่เมกกะวัตต์ละ 50 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 7 ปี ท่านมีขยะเท่าไหร่ลองคิดดูเอาเองก็แล้วกัน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมลองเปิดเว็บไซต์ http://www.zerowaste.co.th/
** มาเรียนรู้องค์ประกอบขยะอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย
ถ้าเป็นขยะชุมชนจะมีข้อมูลด้านองค์ประกอบเผยแพร่และตีพิมพ์มากมายหาดูได้ทั่วไป แต่สำหรับขยะอุตสาหกรรมอาจมีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบของขยะ เนื่องจากขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานว่า ผลิตสินค้าอะไร วัตถุดิบขนาดไหน? ดังนั้น จะขอแยกประเภทในภาพรวมเท่าที่จะพอหาได้ ดังนี้
1. ประเภทที่ยังต้องนำไปบำบัดหรือกำจัด เช่น วัตถุดิบที่เสื่อมสภาพ ไม่ว่าจะเป็นพวกแป้งต่าง ๆ ผงกาแฟหมดอายุ เครื่องสำอางค์ ซอสปรุงรส ชีส เนย รวมทั้งกากตะกอนของเหลวต่าง ๆ
2. ประเภทที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน เช่น เศษผ้า เศษกระดาษ เศษพลาสติก หรือ เศษกระดาษที่เคลือบเป็นเนื้อเดียวกับพลาสติก ไส้กรองชนิดต่าง ๆ วัสดุดูดซับความชื้น ถุงมือยาง เป็นต้น
3. ประเภทนำไปรีไซเคิลได้ เช่น โลหะต่างๆ เศษสายไฟ ชาม กะละมัง หม้อ ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ขยะรีไซเคิลเหล่านี้จะถูกประมูลขายสร้างมูลค่ามากมาย ไม่ก่อปัญหาแต่อย่างใด
ที่มา - http://www.mmthailand.com/mmnew/energy-may.html
หากต้องการอ่านสาระน่ารู้อื่นๆ คลิกดูได้ที่ https://www.facebook.com/mrtrecycle
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น