วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
หน่วยความจำ (Memory Unit) กับ ความเจริญทีไม่มีสิ้นสุด
ในช่วงปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าเรื่องไอทีก็ก้าวไปไกลแบบใครๆ อาจจะตามไม่ทันแล้วนั้น ในส่วนของการเก็บข้อมูลก็เช่นเดียวจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่ก้าวไปในยุคไอที ครองโลก ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักในเรื่องเกี่ยวกับหน่วยเป็บข้อมูล หรือ เมโมรี ยูนิต ว่ามีกี่แบบ และ อันไหน อยู่ประเภาอะไร เพื่อจะได้ทราบว่าวิวัฒนาการการเก็บข้อมูล เริ่มต้นจากอะไรบ้างหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
* รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป ซึ่งแบ่งข้อย่อยๆ ในประเภทนี้ได้ดังต่อไปนี้
* แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
2. หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
- ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น ซึ่งในรูปแบบนี้ ได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว
- ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่
* ซีดีเพลง (Audio CD)
* วีซีดี (Video CD - VCD)
* ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R)
* ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW)
* ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)
- รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 2-32 กิกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive เป็นต้น
- ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์ ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นมากนัก
- Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์
- เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์
- แผ่นเมโมรีการ์ด (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว อีกไม่นาน ตัวเก็บข้อมูลจำพวก ดิสก์ ทั้งหลาย อาจจะไม่มีบทบาทในการใช้งานบ้างแล้ว เนื่องจาก ระบบการเก็บข้อมูล เริ่มมีความกะทัดรัดและเล็กลงไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีการพัฒนามาอีกหรือไม่ ตอนนี้มีทางเดียวที่มีก็คือ เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ เพราะ วันพรุ่งนี้ สิ่งที่คุณใช้ในการเก็บข้อมูลมา อาจจจะไม่มีราคาแล้วก็เป็นได้
รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถดูได้ที่เพจนี้ หรือ ในบล็อกเกอร์ของ เอ็มอาร์ที รีไซคลิง ได้นะครับ คลิกที่ http://mrtrecycle.blogspot.com/หรือเว็บไซต์ของเรา ที่ http://www.mrtrecycling.co.th/ และ เพจบน facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/mrtrecycle
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น